อย่าปล่อยให้เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือสร้างความบันเทิง
หากกล่าวถึงเทคโนโลยีในปัจจุบันแล้ว มีความเจริฐก้าวหน้ากันจนตัวดิฉันเองตามแทบไม่ทันแต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธการติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้อย่างแน่นอน เทคโนโลยีกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนในปัจจุบันไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน การพักผ่อน การท่องเที่ยว การสื่อสาร การรักษาพยาบาล รวมไปถึงการศึกษา เทคโนโลยีล้วนกลายมาเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวก ในแวดวงการศึกษานั้น มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการนำเทคโนโลยีมาเป็นตัวกลางในการรวบรวม จัดเก็บ สื่อการเรียนการสอน ทั้งยังพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยมากขึ้น สะดวกต่อการใช้งาน
ศุนย์สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ปรัชญนันท์ นิลสุข ( 2541 ) ได้สรุปและให้ความหมายของศูนย์สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากการประมวลแนวคิดที่นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า ศูนย์สื่อเทคโนโลยี การศึกษา เป็นองค์การที่ทากิจกรรมประกอบด้วยผู้นำ คณะทำงานและสถานที่เก็บอุปกรณ์ หนึ่งใน ส่วนน้ีมพื้นที่ในการผลิต จัดหา การนำเสนอวัสดุการสอน การจัดหาเพื่อพัฒนาและวางแผนให้บริการ ซึ่งสัมพันธ์กับหลักสูตรการเรียนการสอน ปรัชญาพื้นฐานของการจัดองค์การและการจัดการของศูนย์ สื่อเทคโนโลยีการศึกษาคือ ประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อการเรียนรู้ สามารถควบคุม ประสิทธิภาพให้เหมาะสมโดยคานึงถึงค่าใช้จ่าย การให้บริการ การให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพและ กระบวนการที่ได้มาตรฐาน เป็นองค์การที่เป็นศูนย์กลางการจัดระบบควบคุมทั้งหมดเพื่อการเรียนรู้
ความสำคัญของศูนย์บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
1. เป็นแหล่งค้นคว้า หาความรู้ สำหรับนิสิต นักศึกษา ครูอาจารย์และบุคคลทั่วไป
2. เป็นแหล่งที่ผลิตและเผยแพร่สื่อการสอนในรูปแบบต่างๆ เช่น การผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์
การผลิตวิดีทัศน์เพื่อการศึกษา การผลิตสื่อการสอนในรายวิชาต่างๆ การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. เป็นแหล่งที่ให้บริการยืมและสนับสนุนสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ มีการติดตั้งระบบเครือข่าย มีการเชื่อมโยงระหว่างศูนย์บริการสื่อฯ
4. เป็นแหล่งเก็บรักษา บำรุง และซ่อมแซมสื่อทุกชนิด ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน
5. เป็นแหล่งจัดเตรียม จัดหาข้อมูลสารสนเทศ แก่ผู้ใช้บริการเป็นประจำ ให้ทราบถึงวัสดุอุปกรณ์ สิ่ง อำนวยความสะดวก เช่น ประกาศ สาธิต จัดนิทรรศการ เสนอข่าว จัดประชุมปฏิบัติการ ออกวารสาร ฯลฯ
6. สามารถเป็นสถานที่พักผ่อนของบุคคลผู้มาใช้บริการ สถานที่ไม่อึดอัดคับแขบ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
7.ให้ข้อเสนอแนะ หรือคำแนะนำแก่บุคคลผู้สนใจเกี่ยวกับสื่อและเทคโนโลยี ทั้งการเลือกใช้ การผลิต การรวมไปถึงการบำรุงรักษาสื่อต่างๆที่ให้ใช้บริการ
8.มีการประเมินผล ความพึงพอใจของบุคคลที่มาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง เืพ่อนำมาปรับปรุงศูนย์ให้มีความก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป
หากจะปล่อยเวลาให้หมดไปกับการเที่ยว ดูหนัง ฟังเพลง ซะมากกว่า ก็คงจะไม่ได้สาระประโยชน์เท่าไหร่นัก ลองมาเปลี่ยนความคิดตัวเอง เปลี่ยนแปลงตัวเอง หันมาศึกษาหาความรู้ ที่ศูนย์สื่อและเทคโนโลยี บ้างก็คงจะดีไม่น้อย ศูนย์เหล่านี้ ไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่คุณคิด ........
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง ในปี พ.ศ. 2477 มีฐานะเป็นแผนกตำราและห้องสมุด สังกัดฝ่ายธุรการ ต่อมาปี พ.ศ. 2501 ย้ายไปสังกัดกองบริการการศึกษาใช้ชื่อว่าแผนกห้องสมุด และยกฐานะเป็นกองห้องสมุด สังกัดสำนักงานเลขาธิการ ในปี พ.ศ. 2504 ปี พ.ศ.2519 ปรับเปลี่ยนฐานะเป็นสำนักหอสมุด นับเป็นสำนักหอสมุดแห่งแรกของ ประเทศไทยโดยโอนห้องสมุดกลาง ห้องสมุดคณะทั้งหมดมาสังกัดสำนักหอสมุด และบริหารงานในระบบศูนย์รวม โดยส่วนกลางรับผิดชอบงานด้านเทคนิค
องค์กรแห่งความเป็นเลิศด้านบริการและส่งเสริมการเรียนรู้ บริหารโปร่งใส ทันสมัยด้วยเทคโนโลยีและสารสนเทศ
พันธกิจ
1. ส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัยของมหาวิทยาลัย2. บริการด้วยสารสนเทศที่หลากหลายด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
3. สนับสนุนและบริการทางวิชาการแก่สังคมตามอุดมการณ์ของมหาวิทยาลัย
4. บริหารทรัพยากรโปร่งใส และมีประสิทธิภาพ
ห้องสมุดสาขาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริหารงานแบบศูนย์รวม เนื่องจากมีศูนย์ให้บริการหลายที่ เพราะมหาวิทยาลัยมีหลายวิทยาเขต และแต่ละวิทยาเขตก็มีห้องสมุดหลายแห่ง แต่ทุกแห่งจะมีระบบเดียวกันและถูกรวบรวมไว้ที่ศูนย์กลาง ห้องสมุดมีเทคนโลยีที่ทันสมัยไม่ว่าจะไปใช้บริการที่ศูนย์ไหนก้จะสามารถค้นหาสื่อต่างๆได้ โดยระบบจะปรากฏสื่อที่เราต้องการขึ้นมา ทั้งห้องสมุดทุกแห่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดให้บริการแก่บุคคลภายนอกเพื่อใช้ศึกษาหาความรู้ ทั้งยังเป็นแหล่งผลิตสื่อในรูปแบบต่างๆเพื่อให้บริการแก่นักศึกษา หรืออาจารย์ภายในมหาวิทยาลัย มีสื่อที่ให้บริการทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิค และสื่อสารสนเทศ (วัสดุย่อส่วน)
เว็บไซต์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น