เข้าหูซ้าย ทะลุหูขวา.....
ชีวิตคนกรุงเทพฯอย่างเราๆ ยังมีใครเปิดไอ่เจ้า วิทยุฟังกันอยู่หรือเปล่า หลายคนคงส่ายหัวกันไปมาอย่างแน่นอน ยิ่งถ้าเป็น คลื่น AM แล้ว ยิ่งน้อยลงทุกวันๆ อาจมีบ้างที่เป็นคลื่น FM เป็นรายการเพลง ฟังข่าว หรือความบันเทิงต่างๆ แต่ถ้าเป็นรายการวิทยุเพื่อการศึกษาแล้ว คนเมืองอย่างเราๆ คงงงเป็นไก่ตาแตกอย่างแน่นอน อย่าถามแต่คนอื่นเลยค่ะ ตัวดิฉันเอง ก็ยังไม่เคยเปิดฟังเลยเหมือนกัน
หากพูดถึง รายการวิทยุเพื่อการศึกษาในปัจจุบัน ก็ยังมีการผลิตและเผยแพร่อยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ได้รับความนิยมที่ลดลงเนื่องจาก ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ที่นำเสนอได้ทั้ง ภาพ และเสียง จึงทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้การเรียนรู้ที่มีภาพประกอบด้วยจะสามารถกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า ไม่วอกแว่ก รวมทั้งภาพประกอบจะทำให้ผู้เรียนรับรู้ได้ถึงอารมณ์ ความต้องการของผู้สอน การเห็นของจริง ไม่ต้องมานั่งนึกนั่งจินตนาการเอง แต่การฟังรายการวิทยุเพื่อ- การศึกษา สามารถรับรู้ได้ถึงเสียงเพียงอย่างเดียว ผู้เรียนจะต้องจินตนาการเอาเองว่า สิ่งที่ผู้สอนกำลังต้องการบอกนั้นคืออะไร ทั้งยังมีสิ่งเร้ารอบตัวต่างๆอีกมากมาย หากไม่เข้าใจตรงไหนก็ยกมือถามเหมือนในห้องเรียนไม่ได้ หรืออยากจะย้อนกลับมาฟังซ้ำที่เดิมก็คงจะยากลำบาก การจดจำการรับรู้ทางเสียงเพียงอย่างเดียวนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เคยได้ยินมั้ยค่ะ ที่โบราณกล่าวว่า "เข้าหูซ้าย ทะลุหูขวา" นี่แหละค่ะ ข้อเสียของการฟังวิทยุ เราได้ฟังแต่เสียงเพียงอย่างเดียว หากไร้ซึ่งสมาธิและใจจดจ่อ อีกไม่กี่นาทีเราก็ลืม ทำให้วิทยุการศึกษานั้นเหมาะสำหรับบางบทเรียน บางกลุ่มคนเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นคนกรุงเทพมีอินเทอร์เน็ตใช้ อยากหาความรู้เพิ่มเติมเรื่อง การใช้แท็ปเลต เขาสามารถเข้า youtube หาวิดีโอการเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแท็ปเล็ตได้เลย ทั้งยังมีภาพและเสียงที่น่าสนใจ หรือ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติม จาก Search engine ต่างๆและเข้าเว็บไซต์ เพื่อศึกษาเรื่องที่เข้าต้องการได้ แต่สำหรับเด็กในต่างจังหวัดแล้ว รายการวิทยุยังเป็นสิ่งที่เขาต้องการ ยังเป็นสิ่งที่เขาสามารถรับความรู้ได้ จากตัวเลือกที่น้อยนิดของเขา รายการวิทยุเพื่อการศึกษาอาจกลับกลายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเขา ในการหาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างแท็ปเล็ตก็เป็นได้
เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การศึกษาก็มีการพัฒนาอย่างเนื่องควบคู่ไปกับเทคโนโลยีเช่นกัน การที่รายการวิทยุเพื่อการศึกษาถูกมองว่าเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่ไม่ทันสมัย ไม่เหมาะกับยุคปัจจุบัน แต่เราก็ยังขาดมันไปไม่ได้ เนื่อจากบางพื้นที่ที่ห่างไกล ยังคงต้องการการศึกษาอย่างทั่วถึง รายการวิทยุเพื่อการศึกษาอาจเป็นทางเลือกสำหรับพวกเขา เนื่องจากการผลิตรายการวิทยุเพื่อการศึกษานั้น มีต้นทุนไม่สูงมาก และวิทยุก็ยังเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีมานานแล้ว (คิดว่าทุกบ้านน่าจะมี และบ้านตามต่างจังหวัดเช่นกัน) เพราะฉนั้นรายการวิทยุเพื่อการศึกษายังคงต้องมีการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนาให้เหมาะสม
เราจะมาดูตัวอย่างสถาณีวิทยุเพื่อการศึกษา.........วิทยุศึกษา
สถานีวิทยุศึกษาปัจจุบันก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งมีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ ประชาชน เพื่อสร้างศักยภาพและความสามารถในการแข่งขัน ปรับตัว รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งมีค่านิยมและพฤติกรรมที่เหมาะสม และอนุรักษ์สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม จึงเน้นการพัฒนาคุณภาพรายการและการออกอากาศ โดยเฉพาะการขยายช่องทางการรับฟัง ทั้งการรับฟังผ่านดาวเทียม และระบบออนไลน์ เพื่อให้ผู้ฟังสามารถเลือกรับฟังรายการได้ตามความต้องการและในเวลาที่สะดวก ปัจจุบันสถานีวิทยุศึกษานอกจากกระจายเสียงด้วยระบบ FM ความถี่ 92 MHz และระบบ AM ความถี่ 1161 KHz แล้ว ยังสามารถรับฟังผ่านดาวเทียมได้ทาง ช่อง R 30 และทางอินเทอร์เน็ตที่ www.moeradiothai.net ซึ่งผู้ฟังสามารถรับฟังได้ทั้งรายการสด (Live Radio) และเลือกรับฟังรายการตามความต้องการ (Radio on Demand)
การดำเนินงานของสถานีวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีการวางแผน บริหารจัดการอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน จัดทำฐานข้อมูลผู้ฟัง ประชาสัมพันธ์รายการและสถานี ดำเนินการสำรวจ ติดตามประเมินผลการรับฟัง เพื่อนำข้อมูลวิชาการมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ การจัดรายการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์การปฏิรูปการศึกษาแก่ประชาชน การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ การเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชน รายการที่จัดออกอากาศ เช่น รอบรั้วเสมา เพื่อนยามเย็น คลินิกรักษ์สุขภาพ ชีวิตธรรมชาติ พูดจา ภาษาไทย วิถีไอที เป็นต้น
นอกจากสถานีวิทยุศึกษาแล้วยังมีอีกหลายสถานีที่ผลิตรายการวิทยุเพื่อการศึกษา ตัวอย่างเช่น สถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษา จ.แม่ฮ่องสอน สถานีวิทยุกระจายเสียงเพ่อการศึกษา จ.จันทบุรี วิทยุเพื่อการศึกษาและพัฒนาอาชีพ สถานีวิทยุเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ รวมไปถึงวิทยุชุมชนด้วย จะเห็นได้ว่า การจัดทำรายการวิทยุเพื่อการศึกษาก็ยังคงเป้าหมายและวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ ไม่ต่างกับการเรียนการสอนในรูปแบบอื่นๆ ทั้งยังมีการพัฒนาการรับฟังให้ได้หลากหลายขึ้น นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ แต่ยังคงรูปแบบเดิมๆไว้ เพราะคงต้องยอมรับว่า ประเทศของเรา ในเมืองหลวงทุกคนสามารถเสพเทคโนโลยีได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด มีแค่นี้จะเอาแค่นั้น มีไอ่นั่นจะเอาไอ่นี่ หากแต่คนที่อยู่ในชนบทนั้น แค่มีเพียงไฟฟ้า เขาก็ดีใจจนไม่อยากร้องขออะไรอีกแล้ว......
ที่มา :
http://www.moeradiothai.net/aboutus5.php?webid=1&link=1
http://www.prd.go.th/main.php?filename=EducationRadio